วิธีการเลือกซื้อที่นอน

ไขข้อข้องใจ การเลือกหมอนหนุนหัวแบบไหน จึงจะดีต่อสุขภาพที่สุด

หากพูดถึงอาการปวดบริเวณต้นคอ เชื่อว่าแทบทุกคนต้องเป็นกันแล้วทั้งนั้น ซึ่งสาเหตุการเกิดอาการปวดต้นคอมีสาเหตุการเกิดได้หลายแบบ โดยเฉพาะหลังจากตื่นนอนแล้วรู้สึกปวดบริเวณต้นคอ เนื่องจากหมอนสูงหรือแข็งเกินไป ล้วนส่งผลกระทบต่อการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก ดาร์ลิ่ง มีคำแนะนำการเลือก หมอนที่เหมาะสมมาแนะนำ

หมอนหนุนหัว สำคัญไฉน

เนื่องจากสรีระของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ขนาดของหมอนจึงต้องมีลักษณะความเหมาะสมเฉพาะตัว ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการเลือกหมอนให้เหมาะสมจึงขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนเป็นสำคัญ เช่น ผู้ที่มีรูปร่างใหญ่หรือนอนกรน ควรใช้หมอนที่สูงเพื่อให้คออยู่ในระนาบเดียวกันกับลำตัวพอดี จะได้ไม่รู้สึกอึดอัด และลดการนอนกรน หากเป็นคนตัวเล็กควรหนุนหมอนต่ำลงมาหน่อย เพื่อรักษาแนวระนาบของลำตัว โดยท่าทางในการนอนก็มีส่วนในการเลือกขนาดของหมอนด้วย

ควรเลือกหมอนที่มีขนาดใหญ่และมีส่วนกว้างออกมาถึงช่วงไหล่ เวลาพลิกตัวจะได้ไม่เกิดการตกหมอน ซึ่งหมอนที่มีส่วนเว้าโค้งที่ออกแบบมาเพื่อรองรับกับต้นคอจะเหมาะกับท่านอนหงาย หากนำมาใช้นอนตะแคงอาจปวดต้นคอได้ และเพื่อความเหมาะสมในการเลือกหมอน ควรทำการลองหนุนหมอนเพื่อให้พอดีกับต้นคอของตนเองอีกด้วย

ประเภทของหมอน

1. หมอนแบบใยสังเคราะห์
ทำจากวัสดุสังเคราะห์ เป็นชนิดที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน เนื่องจากดูแลรักษาง่าย และราคาไม่แพง วัสดุที่ใช้ประกอบก็มีทั้งใยสังเคราะห์ ไมโครไฟเบอร์ โพลียูรีเทน ฯลฯ มีอายุการใช้งานค่อนข้างสั้น คือ ประมาณ 6 เดือน ถึง 2 ปี มีทั้งแบบนุ่มฟูและแบบแน่น ขึ้นอยู่กับความชอบและความพึงพอใจเมื่อได้ใช้หนุนนอน ข้อดีคือมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนตามรูปของศรีษะ สามารถคืนรูปและระบายอากาศได้ดี ซักน้ำได้

2. หมอนแบบขนสัตว์
หมอนประเภทนี้เหมาะสำหรับคนที่ชื่นชอบการนอนหมอนนุ่มๆ ฟูๆ มากเป็นพิเศษ มีทั้งขนนก ขนเป็ด และขนห่าน ซึ่งอย่างหลังจะมีราคาสูงที่สุด จุดเด่นของหมอนขนเป็ดนอกจากความนุ่มฟูก็คือ ให้ผิวสัมผัสที่นุ่ม ฟู นอนแล้วจม แต่มีข้อเสียคือไม่เหมาะกับผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นภูมิแพ้ และหมอนขนสัตว์มักไม่คืนตัว ก่อนล้มตัวลงนอนจึงควรจัดให้ได้รูปเสียก่อน ต้องระมัดระวังเรื่องการเปียกน้ำ เพราะจะทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ ส่วนมากโรงแรมนิยมใช้ เหมาะพิเศษสำหรับผู้ที่นอนคว่ำ

3. หมอนแบบยางพารา
หมอนประเภทนี้เหมาะเป็นพิเศษสำหรับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือโรคระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากไม่มีกลิ่น ไม่อับชื้น มีการระบายอากาศได้ดีเพราะมีรูพรุนในเนื้อยางพารา นอกจากนี้ยังมีอายุการใช้งานที่นานและยืดหยุ่นกว่าหมอนประเภทอื่นๆ มีทั้งแบบแข็งและแบบนิ่ม ข้อดีคือ คงทน อายุการใช้งานนาน แต่ห้ามตากแดดและโดนน้ำ เหมาะสำหรับท่านที่นอนหงาย และตะแคงเท่านั้น

4. หมอนแบบนุ่น 
เป็นหมอนที่ได้รับความนิยมในช่วงแรกๆ และปัจจุบันยังมีใช้กันอยู่ หมอนประเภทนี้จะใช้นุ่นบรรจุในถุงผ้าแล้วเย็บปิด ซึ่งก็นับว่าเป็นหมอนประเภทที่ดีปานกลาง คือสามารถปรับให้รับกับสรีระของผู้นอนได้ ราคาไม่แพง ข้อเสียก็คือ อาจมีเศษนุ่นหลุดออกมาเป็นละออง ทำความสะอาดยาก จึงไม่เหมาะสำหรับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้

5. หมอนแบบธัญพืช
เป็นวัสดุแนวใหม่ที่เริ่มมาแรง วัสดุที่ใช้มีทั้งเปลือกโซบะในญี่ปุ่น หรือบ้านเราคือหมอนชาเขียว เป็นหมอนที่สามารถถ่ายเทอากาศ และระบายความชื้นได้ดี แต่ต้องระวังแมลงและมีเสียงดังรบกวนบ้างเมื่อขยับตัว เป็นหมอนที่ผลิตเพื่อรองรับและให้เข้ารูปกับศีรษะและต้นคอของผู้นอนแต่ละคน ซึ่งหลายคนที่เคยทดลองใช้ให้ความเห็นว่าทำให้นอนหลับสบายขึ้น แต่มีข้อจำกัดคือราคาแพง และต้องผึ่งแดดบ่อยๆ เพื่อป้องกันความชื้นและกันแมลง

ชุดเครื่องนอน Darling ปลอดภัยจากสารก่อภูมิแพ้

เพราะได้รับการพิสูจน์ประสิทธิภาพการต่อต้านไร่ฝุ่น เชื้อรา แบคทีเรีย ตลอดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งผสมผสานเทคโนโลยีการผลิตด้วยเส้นใยอัจฉริยะ ที่เรียกว่า Amicor Pure ที่จะทำการตัดห่วงโซ่อาหารของไรฝุ่น ได้รับการพัฒนาและวิจัยจากประเทศอังกฤษ ผ่านการรับรองจาก FDA ประเทศสหรัฐอเมริกา ผสานเข้ากับ Polymer ที่เป็นเทคนิคเฉพาะของ ที่นอน ดาร์ลิ่ง ก่อนการปั่นออกเป็นเส้นใยอัจฉริยะ Amicor Pure ที่นอนดาร์ลิ่ง จะทำให้คุณปลอดภัยจากภูมิแพ้อย่างแน่นอน

นอกเหนือจากความชอบส่วนตัวในการเลือกซื้อหมอนแล้ว เราควรตระหนักถึงความเหมาะสมกับสรีระและลักษณะนิสัยการนอนของตัวเองด้วย และที่สำคัญที่สุดทุกครั้งที่เลือกซื้อหมอนและชุดเครืองนอน จะต้องป้องกันไรฝุ่น แบคทีเรีย และเชื้อโรคต่างๆ ด้วยเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณและคนในครอบครัว

ลิขสิทธิ์บทความของ ที่นอน Darling
ผู้จัดจำหน่าย ที่นอนคุณภาพกว่า 50 ปี การันตีคุณภาพด้วยรางวัล 
PM(Prime Minister), Award Professional Trade Award, 
ISO 9001:2000 และ Thailand Trust Mark

>> สนใจสินค้าและสอบถามเพิ่มเติม คลิ๊ก ที่นี่ <<