News

ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ไม่แสดงอาการ สามารถแพร่เชื้อบนเครื่องนอนมากที่สุด

วิจัยที่น่าสนใจ พบว่าผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ไม่แสดงอาการ แพร่เชื้อบนเครื่องนอนมากที่สุด

ที่มา  : https://wwwnc.cdc.gov/eid/article/26/9/20-1435_article

ที่นอนดาร์ลิ่ง ขอนำข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์เกี่ยวกับโรค COVID19 จาก CDC (Centers for Disease Control and Prevention in U.S.) ที่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ การตรวจหาโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง  Coronavirus 2 RNA บนพื้นผิวในห้องกักตัว ในห้องปฏิบัติการ  เราจึงได้ค้นหาข้อมูลมาฝากผู้อ่านทุกท่านดังนี้

นักวิจัย ได้ทำการตรวจสอบการปนเปื้อนของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง coronavirus 2 (SARS-CoV-2) ในห้องพักของโรงแรมกักตัว 2 ห้อง หลังจากผู้ป่วย 2 ราย ที่อยู่ในห้องพักยืนยันว่ามีโรค coronavirus เขาได้ตรวจพบ SARS-CoV-2 RNA ใน 8 ตัวอย่าง (36%) จาก 22 ตัวอย่าง บนพื้น รวมถึง บนปลอกหมอน, ผ้าปูที่นอนและผ้านวมด้วย

เมื่อเร็ว ๆ นี้เขาได้รายงานการตรวจพบ SARS-CoV-2 RNA บนพื้นผิวและทั่วบริเวณบ้าน ของครัวเรือนผู้ป่วยที่มีอาการป่วย เนื่องจาก SARS-CoV-2 ยังคงสภาวะพร้อมแพร่เชื้อ และติดเชื้อเมื่อสัมผัสได้หลายชั่วโมงบนพื้นผิว 

การสัมผัสกับพื้นผิวที่ปนเปื้อนอาจเป็นสื่อกลางในการแพร่เชื้อไวรัส นอกจากนี้ ไวรัสเดินทางรวดเร็วเมื่อเข้าสู่ลำคอ จนเริ่มมีอาการ และการติดเชื้อโรคแสดงอาการภายใน 2 วัน ทำให้สงสัยว่าผู้ป่วยที่มีอาการ อาจจะสร้างความปนเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อมที่เขาอยู่ได้ง่าย

แต่ข้อสรุปนี้ อาจจะยังไม่เป็นที่แน่ชัด เพราะหลายคนในข้อสังเกตก็ไม่ได้แสดงอาการการติดโรค ดังนั้น เพื่อทดสอบสมมติฐานนี้ เขา จึงตรวจสอบการปรากฏตัวของ SARS-CoV-2 RNA ในตัวอย่าง ที่เก็บรวบรวมจากห้องพัก 2 ห้องของโรงแรมกักตัวส่วนกลาง ที่ผู้ป่วย 2 รายได้พัก

เขาใช้วิธีการทดลองจากนักเรียนจีนสองคนที่เรียนในต่างประเทศกลับมาที่จีนในวันที่ 19 มีนาคม (ผู้ป่วย A) และ 20 มีนาคม (ผู้ป่วย B), 2020  ในวันที่มาถึงจีนไม่มีไข้ หรือไม่แสดงอาการเลย

พวกเขาถูกย้ายไปที่โรงแรมเพื่อกักตัว 14 วัน พวกเขามีอุณหภูมิของร่างกายปกติ ก็ประมาณ 36  ° C เท่านั้น  และไม่มีอาการใดๆ  เมื่อตรวจสอบในโรงแรม ในช่วงเวลากักตัวเจ้าหน้าที่การแพทย์ที่ดูแล จะต้องตรวจสอบอุณหภูมิร่างกาย และอาการของพวกเขา ทุกเช้าและบ่าย ในตอนเช้าของวันที่สองของการกักตัวพวกเขาก็ยังไม่มีไข้  หรืออาการใดๆ  ในเวลาเดียวกัน ก็บันทึกอุณหภูมิของพวกเขา และถูกเก็บตัวอย่างทั้งกวาดคอ ทั้งการทดสอบในห้องทดลองแล็ป โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ จึงได้ยืนยันว่าพวกเขาป่วยเป็นโควิด19

หลังจากนั้น นักเรียนถูกย้ายไปโรงพยาบาลท้องถิ่นเพื่อรับการรักษา ในการรักษา พวกเขาเริ่มมีอาการ ผู้ป่วย A เริ่มไอ และเริ่มมีไข้ในวันที่ 2 ของการรักษาในโรงพยาบาล ส่วนผู้ป่วย B ไข้ (37.9 °C) และมีอาการไอขึ้นในวันที่ 6  ของการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และทำการ เอกซเรย์

ประมาณ 3 ชั่วโมงหลังจากผู้ป่วย 2 รายถูกยืนยันผล ระบุว่าเป็นบวก สำหรับ SARS-CoV-2 RNA เขาจึงได้สุ่มตัวอย่างพื้นผิว ด้านสิ่งแวดล้อม ของ 2 ห้องในโรงแรมกักตัวส่วนกลาง ที่พวกเขาเคยพัก เพราะเนื่องจากการระบาดของโรค SARS-CoV-2 ในประเทศจีนโรงแรมจึงถูกปิดระหว่างวันที่ 24 มกราคม – 18 มีนาคม 2020 ดังนั้นมีเพียง 2 คนเท่านั้นที่เข้าพักในห้องพัก เขาใช้ อุปกรณ์ เก็บตัวอย่างไวรัสตามพื้นผิวของมือจับประตู สวิตช์ไฟ จับก๊อกน้ำ เครื่องวัดอุณหภูมิ รีโมทโทรทัศน์,  หมอน ปลอกผ้านวม ผ้าขนหนู มือจับประตูห้องน้ำ ชักโครกและปุ่มกดชักโครก นอกจากนี้ เขายังเก็บตัวอย่าง swab ควบคุม จากห้องว่าง 1 ห้อง เขารวบรวมตัวอย่างแต่ละตัวอย่างโดยการ swabbing แต่ละพื้นผิว เขาทดสอบตัวอย่าง ด้วยชุดทดสอบ rRT-PCR (DAAN GENE Ltd, และอีกหลายอย่างที่ใช้ในการทดสอบ

เขารวบรวมตัวอย่างทั้งหมด 22 ตัวอย่าง จากห้อง 2 ห้อง ของโรงแรมกักตัว (ดูข้อมูลตามตารางที่ 2)
link https://wwwnc.cdc.gov/eid/article/26/9/20-1435-t2 เป็นการชี้ชัดว่าสิ่งแวดล้อมของเขามีเชื้อโรคกระจายไปบนพื้นผิววัตถุหลายอย่างมาก

ผลวิจัยที่เขาได้ทดสอบนี้ สรุปได้ว่า

มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค SARS-CoV-2 RNA ไปในสิ่งแวดล้อมอย่างกว้าง ในระยะเวลาอันสั้น (ภายใน 24 ชั่วโมง) ในห้องพักของโรงแรม ที่มีผู้พักอาศัย 2 คนที่ยังไม่แสดงอาการว่าติดเชื้อ นอกจากนี้ เขายังตรวจพบ SARS-CoV-2 RNA ในตัวอย่างพื้นผิวของ ปลอกหมอน, ผ้าห่มนวม และแผ่นรองนอนต่างๆ อีกด้วย โดยอ้างอิงจากหลักฐานการติดต่อโรค SARS-CoV-2 โดยการสัมผัสทางอ้อม ที่เคยเกิดในกลุ่มของการติดเชื้อที่ห้างสรรพสินค้าในประเทศจีน และการตรวจนี้ ไม่พบเชื้อบนพื้นผิวสิ่งแวดล้อมในห้องแยก แสดงให้เห็นว่าในผู้ป่วยที่ยังไม่แสดงอาการสามารถปล่อยเชื้อ ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมได้อย่างง่ายดายในช่วงเวลาสั้น ๆ

สรุปแล้ว จากงานวิจัย เขาระบุว่า มีการตรวจพบปริมาณไวรัสที่สูงขึ้น หลังจากสัมผัสกับพื้นที่นอน และหมอน ผ้าห่มผ้าคลุม เชื้อจะติดอยู่เป็นเวลานานกว่า การสัมผัสกับมือจับประตู และสัมผัสสวิตช์ไฟเป็นระยะ ๆ การตรวจจับของ SARS-CoV-2 RNA พบน้อยกว่าในตัวอย่างพื้นผิวของ แผ่นผ้านวม และหมอน ผ้าห่ม ฯลฯ นั่นเอง

เพราะฉะนั้น เรื่องการจัดการทำความสะอาด ที่นอน หมอน ผ้าห่ม จะต้องมีความเหมาะสมและสำคัญมาก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือ ซักล้าง การฟอกผ้าปูที่นอน ที่ใช้แล้วของผู้ป่วย SARS-CoV-2

เขาแนะนำว่า เพื่อลดการแพร่กระจายไวรัสปลิวไปในอากาศ ห้ามเขย่าผ้า สะบัดผ้า เวลาขนไปกำจัด และควรทำความสะอาด ผ้าที่ซักแล้วต้องเอาไปตาก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเพิ่ม

มีรายงานว่า SARS-CoV-2 ยังคงทำงานได้บนพื้นผิวของพลาสติก และสแตนเลส ได้นานถึง 7 วัน และผ้าที่ซักแล้ว จะยังมีเชื้ออยู่ 1 วัน

โดยสรุปการศึกษา  แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่มีอาการแสดงว่า มีการหลั่งของไวรัสสูง และสามารถปนเปื้อนสภาพแวดล้อมได้อย่างง่ายดาย ข้อมูลของเขายังยืนยันบทบาทที่เป็นไปได้ของการปนเปื้อนที่พื้นผิวในการส่งต่อโรค SARS-CoV-2 ควรให้ความสำคัญที่จะปฏิบัติตัวที่ถูกสุขอนามัย เมื่อต้องสัมผัสพื้นผิวที่  รวมถึง ผ้าปูที่นอนของผู้ป่วยโรคซาร์ส -COV-2 ด้วยอย่างยิ่ง

ผู้ทำวิจัยครั้งนี้ คือ ท่าน  ดร. เจียง ซึ่งเป็นนักระบาดวิทยาในศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคชิงเต่า มณฑลซานตงประเทศจีน มีผลงานวิจัยหลักของเขา รวมถึงการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อและโรคติดเชื้อ โดยงานวิจัยดังกล่าวได้รับการสนับสนุนโดยโครงการหลักแห่งชาติเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อของจีน (2017ZX10303401-006) มูลนิธิวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติของจีน (81773494 และ 81621005) และโครงการระดับชาติพิเศษเกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพยากรพื้นฐานของจีน ( 2019FY101502) 

ที่นอนดาร์ลิ่งนำมาฝากให้ท่านผู้อ่านที่สนใจในสุขภาพของเรา เพื่อจะได้หาทางป้องกันให้ทุกท่านห่างไกลจากโรคในวิกฤตนี้   

ต้นฉบับงานวิจัยจากเว็บไซต์ : https://wwwnc.cdc.gov/eid/article/26/9/20-1435_article